การจัดงานสัมมนาการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ประเทศไทยยุค 4.0

    บริษัท ซิลเวอร์ บูลเล็ท ซีเคียวริตี้ ได้ก่อตั้งขึ้นในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี  2010 โดย นายเจสัน ยัง และต่อมาได้ขยายสาขามาที่ประเทศไทยในปี 2018 ภายใต้ชื่อ บริษัท ซิลเวอร์ บูลเล็ท ซีเคียวริตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด ในฐานะบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ มุ่งเน้นบริการจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์เเละเทคโนโลยีโดยตรง จากความมุ่งมั่นของเราในการให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัย ภายใต้แนวความคิดด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการรักษาความปลอดภัยทางโลกไซเบอร์ เป็นภารกิจสำคัญของบริษัทในการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งหมดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนทางธุรกิจสูงสุด บริษัทซิลเวอร์ บูลเล็ท ซีเคียวริตี้ เซอร์วิสเซสได้รวบรวม ออกเบบวิธีการเก้ไขปัญหาต่างๆ เละแนววิธีปฎิบัติระดับสากลที่เกี่ยวกับการดูแลระบบความปลอดภัยตามบริบทของเต่ละองค์กรได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง รูปแบบเเละวิธีการที่บริษัทต่างๆเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้คือการเก้ไขปัญหาในสถานการนั้นๆโดยการวิเคราะห์จากเหตุการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น รวมทั้งการประเมินผล แก้ไขสถานการณ์บนระบบคลาวด์ได้อย่างทันถ่วงที  อีกหนึ่งตัวอย่างด้านการบริการของเรา ที่เรียกว่า “อินฟ่า บอกซ์” หรือ Infra (Infrastructure) box, Enterprise in a box  ที่มีลักษณะโด่ดเด่น คือการรวบรวมเครื่องมือที่จำเป็น โครงสร้างพื้นฐานในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้เก่องค์กร บริษัทสามารถย้ายโดเมนในขณะที่ยังคงรักษาความปลอดภัยพอร์ต และรักษาระดับการบริการของพร็อกซีให้มีความปลอดภัยสูงสุดภายใต้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

เราคือใคร

     วิธีการดำเนินงานเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการบริการด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ดังนั้นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของเราได้นำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และโซลูชั่นด้านวิศวกรรมเพื่อปกป้อง ดูแลระบบเละข้อมูลขององค์กร เพื่อสนับสนุน กำลังการผลิตขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการประกันคุณภาพบริการ ตามข้อบังคับ กฎระเบียบ รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีคำกล่าวว่าด้วยไม่มีผลิตภัณฑ์ใดๆที่ให้ความปลอดภัยทั้งหมด แต่“ Silver Bullet in security” เป็นความหมายที่ให้คำจำกัดความที่ครอบคลุมสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในโลกไซเบอร์  สามารถรวบรวมวิธีการ ข้อปฎิบัติต่างๆ รวมเครื่องมือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย ที่สามารถนำปรับไปใช้ให้แก่องค์กรได้จริง  ตลอดจนไปถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษา พี่เลี้ยงสนับสนุนทางเทคนิค จัดฝึกอบรมเฉพาะทางในแต่ละด้านให้ครอบคลุม เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยในองค์กรมีความมั่นคงมากที่สุด  โซลูชันสำหรับการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์นั้นมีพื้นฐานหลักๆมาจากแนวคิดหลัก 6 ประการดังต่อไปนี้

  1. ข้อกำหนดทางธุรกิจ โซลูชันทั้งหมดจะต้องได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับและไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นเราสามารถช่วยตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ ช่วยตอบสนองเหตุการณ์สุ่มเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ทันถ่วงทีเละตลอดเวลา ช่วยสนับสนุนไอที และช่วยผลักดันให้ธุรกิจของท่านมีความประสบความสำเร็จมากขึ้น
  2. ข้อกำหนดด้านระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของข้อมูลจะต้องได้รับการกำหนด และจัดการตามรูปแบบ วิธีการอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับข้อกำหนดต่างๆ
  3. โครงสร้างพื้นฐาน ความซับซ้อนและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน IT และ OT จะต้องนำมาพิจารณาเพื่อออกแบบการจัดการความปลอดภัยที่เหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าในสถานการณ์ที่ฝ่าย IT และ OT ทำงานร่วมกันเพื่อรองรับความสามารถในการจัดการ การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า (Big data)
  4. ความเชี่ยวชาญด้านไอที ความสามารถของแผนกไอทีเป็นสิ่งสำคัญมากๆสำหรับองค์กร หากระบบมีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะจัดการโดยเจ้าหน้าที่ขององค์กร ก็จะได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นวิธีที่นำไปปรับใช้ได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน ง่ายสอดคล้องกับหลักการ KISS (Keep it Simple Stupid)
  5. ภัยคุกคาม เมื่อมีการสร้างรูปแบบการจัดการกับภัยคุกคามตามขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนข้างต้นเล้ว เพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดการกับสถานการณ์การคุกคามที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น บริษัทขนาดเล็กที่มีจำนวนพนักงาน 50 คน พนักงานที่ดูเลระบบมีวิธีการจัดการกับภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์ที่แตกต่างไปเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของบริษัทต่างชาติที่สนับสนุนให้มีการพูดคุยกันในทีมและช่วยกันเก้ไข วิเคราะห์ ประเมิน สถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาเนวทางการปกป้องระบบเพื่อไม่ให้เกิดการสุ่มเสี่งที่เป็นภัยต่อองค์กร
  6. งบประมาณ เราทุกคนหวังว่านี่ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดของการดำเนินงาน แต่เป็นสิ่งที่ทำให้ให้มั่นใจว่าแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับงบประมาณที่ได้รับมีผลต่อการออกเบบการการดำเนินงานในด้านต่างๆเพื่อให้สามารถครอบคลุมการดูแลความปลอดภัยมากที่สุด

.

            ในทุกๆปีเราได้จัดงานสัมมนาเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในโลกไซเบอร์ รวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ อย่างเช่น  ไทยเซิร์ต ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทยภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากบริษัทในภาคอุตสาหกรรมต่างๆรวมมากมาย ทั้งบริษัทขนาดเล็ก กลาง และใหญ่

Languages

วิธีการการดำเนินงานของเรา

การจัดสัมมนาในประเทศไทย

  • ​นอกเหนือจากการบริการทางเทคนิคเฉพาะด้านเล้ว เราสามารถให้บริการด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยในโลกไซเบอร์
  • ทำงานร่วมกับ บริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลาง รวมทั้งขนาดใหญ่ โดยให้บริการโซลูชั่นตั้งแต่วางโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจด้านความปลอดภัย เน้นคุณภาพในการให้บริการ และออกแบบการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า รวมทั้งบริษัทขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ
  • เราให้ความสำคัญกับการตรวจสอบประสิทธิภาพและระบบอย่างสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการของการรักษาความปลอดภัยข้อมูล ตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างทันถ่วงที สามารถประเมินผลการจัดการข้อมูลในระบบได้สูงสุด

ทำไมต้องเลือกเรา


     ในฐานะบริษัทผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์  เราให้บริการจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์เเละเทคโนโลยีโดยตรงจากประเทศอเมริกา ความมุ่งมั่นของเราในการให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัย ภายใต้แนวความคิดด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการรักษาความปลอดภัยทางโลกไซเบอร์มุ่งเน้นการบริการให้เเก่ บริษัทขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ทีมงานด้านรักษาความปลอดภัยของเราสามารถนำเสนอออกแบบวิธีการที่เหมาะสมให้เเก่องค์กรของท่าน เเละมีระบบ คัดกรอง ดูแล ปกป้องข้อมูล รวมทั้งแก้ไขสถานการณ์สุ่มเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการจัดการข้อมูล ตอบรับ สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในระบบออนไลน์   บริษัทซิลเวอร์ บูลเล็ท ซีเคียวริตี้ เซอร์วิสเซส มีศักยภาพที่โดดเด่นในด้านการมุ่งมั่นออกแบบผลิตภัณฑ์ให้บริการด้านความปลอดภัยด้านไซเบอร์ที่เหมาะสมกับองค์กร ทันสมัย และครอบคลุมความต้องการขององค์กรในแต่ละอุตสากรรมซึ่งประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้